เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
name : วชิราภรณ์ สืบโหร m.3/3 No.41 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา NickName : ยีนส์ ชื่อเวบบล็อก : wachiraphorn41.blogspot.com BirthDay : 23/06/39

สมบัติของดาวเสาร์ (Saturn)


ชื่อ ดาวเสาร์ (Saturn)
 
สมบัติของดาวเสาร์
                ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 120,536กิโลเมตร
                ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 9.543 A.U.
                ลักษณะพื้นผิว
เป็นดาวเคราะห์ที่มีแก๊สมีเทน แอมโมเนีย แก๊สไฮโดรเจน แก๊สฮีเลียมและแกนกลางของดาวเสาร์เป็นของแข็งประกอบด้วยหินและน้ำแข็ง  เฉพาะส่วนแกนกลางของดาวเสาร์มีมวลเป็น10-15 เท่าของมวลโลกทั้งดวง 

 แก๊สที่ห่อหุ้ม
ประกอบด้วยแก๊สมีเทน แอมโมเนีย แก๊สไฮโดรเจนและแก๊สฮีเลียม
                จำนวนดาวบริวาร 18 ดวง                     
 
ดาวเสาร์ เป็นตัวแทนของเทพแซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งการเพาะปลูกในตำนานของชาวโรมัน ส่วนในตำนานกรีกมีชื่อว่า โครนอส (Cronos) ซึ่งเป็นบิดาแห่งซูส (Zeus) เทพแห่งดาวพฤหัสบดี โดยดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบสุริยะรองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตรที่เรียกว่า ทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ     วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วยเศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็กเรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกันและวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วยวงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก

ระบบดาวเสาร์

 
                                  วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดวงจันทร์ไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว)                                                                                   และดวงจันทร์เอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่

วงแหวน

วงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น
 

ดวงจันทร์บริวาร

ดาวเสาร์มีดวงจันทร์ซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 60 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดวงจันทร์เหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ที่มีชื่อเสียงอย่างดวงจันทร์ไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำและดวงจันทร์เอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น
 ดวงจันทร์ 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่นๆและเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดวงจันทร์โทรจัน (หมายถึงกลุ่มดวงจันทร์เล็กๆที่โคจรไปตามเส้นทางของดวงจันทร์ดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดวงจันทร์ร่วมวงโคจรและอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดวงจันทร์เหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก)
 ส่วนดวงจันทร์ที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดวงจันทร์เหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมาหรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยงๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์สและกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู
วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดวงจันทร์ของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดวงจันทร์ แล้วแม้เราจะค้นพบ "ดวงจันทร์เล็กๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้น เท่านั้น

ดวงจันทร์ที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดวงจันทร์ 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปีค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดวงจันทร์ดวงอื่นๆมีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดวงจันทร์ดวงเล็กๆในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาว


ลักษณะเฉพาะของวงโคจร
กึ่งแกนเอก: 1,426,725,413 กม.
                  (9.53707032 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวงของวงโคจร: 59.879 หน่วยดาราศาสตร์
คาบดาราคติ: 10,757.7365 วัน
                      (29.45
ปีจูเลียน)
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร: 10.182 กม. /วินาที
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร: 9.136 กม. /วินาที
ความเอียง: 2.48446°
                  (5.51° กับศูนย์สูตร
ดวงอาทิตย์)
 
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร: 120,536 กม.                                                                                                                                                                (9.449×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้ว: 108,728 กม.
                                                  (8.552×โลก)
พื้นที่ผิว: 4.27×1010 กม.²
              (83.703×โลก)
ปริมาตร: 7.46×1014 กม.³
               (688.79×โลก)
มวล: 5.6846×1026 กก.
         (95.162×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 0.6873 กรัม/ซม.³ (น้อยกว่าน้ำ)
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร: 8.96 เมตร/วินาที²
                                          (0.914
จี)
ความเร็วหลุดพ้น: 35.49 กม. /วินาที
คาบการหมุนรอบตัวเอง: 0.4440092592 วัน
                                        (10 ชม. 39
นาที 22.40000 วินาที
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: 9.87 กม. /วินาที
                                               (35,500 กม. /ชม.)
 ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ: 40.59°
                                                (2 ชั่วโมง 42 นาที 21 วินาที)
เดคลิเนชันของขั้วเหนือ: 83.54°
อุณหภูมิ: 93 K (ที่ยอดเมฆ)
อุณหภูมิพื้นผิว:  ต่ำสุด  เฉลี่ย    สูงสุด
เคลวิน                82 K   143 K
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว: 140 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ: >93% ไฮโดรเจน
                      >5%
ฮีเลียม
                      0.2%
มีเทน
                      0.1% ไอ
น้ำ
                      0.01%
แอมโมเนีย
                      0.0005%
อีเทน
                      0.0001%
ไฮโดรเจนฟอสไฟด์
                                                                          ขนาดของดาวเสาร์ เปรียบเทียบกับโลก

ขนาดของดาวเสาร์
ดาว เสาร์มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสแต่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด คือมีความหนาแน่นเพียง 0.7เท่าของน้ำ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120,536 กิโลเมตร ดาวเสาร์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.4 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก มวลมากกว่าโลก 95 เท่า
               ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ชั้นนอก และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบสุริยะรองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน   สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ
 ข้อมูลจำเพาะของดาวเสาร์

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
โดยเฉลี่ย 1,427 ล้านกิโลเมตร(9.539 a.u.)
ใกล้สุด 1,347 ล้านกิโลเมตร (9.008 a.u.)
ไกลสุด 1,507 ล้านกิโลเมตร (10.069 a.u.)
Eccentricity
0.056
คาบการหมุนรอบตัวเอง
10 ชั่วโมง 13 นาที 59 วินาที
คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์
29.46 ปีบนโลก ด้วยความเร็ว 9.60 กิโลเมตรต่อวินาที
ระนาบโคจร (Inclination)
2:29:21.6 องศา
แกนเอียงกับระนาบโคจร
26:44 องศา
มวล
586.5 x 1024 Kg. หรือ 95.17 เท่าของโลก
เส้นผ่านศูนย์กลาง
119,871 กิโลเมตร (74,500 ไมล์) หรือ 9 เท่าของโลก
(
โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร)
แรงโน้มถ่วง
1.16 เท่าของโลก
ความเร็วหลุดพ้น
32.26 กิโลเมตรต่อวินาที
ความหนาแน่น
687 kg/CBM หรือ 1 ต่อ 0.71 เมื่อเทียบกับน้ำ
ความสว่างสูงสุด
-0.3 ถึง +0.8 ขึ้นอยู่ระนาบวงแหวนที่หันเข้าหาโลก
อุณหภูมิของเมฆชั้นบนสุด
-170 องศาเซลเซียส

วงแหวนของดาวเสาร์
เป็นดาวเคราะห์ที่มีระบบวงแหวนดาวเคราะห์ขนาดใหญ่มากกว่าดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น วงแหวนของดาวเสาร์ช่วยสะท้อนแสง ทำให้มองเห็นความสว่างของดาวเสาร์เพิ่มมากขึ้น แต่เราไม่สามารถมองเห็นวงแหวนเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า ในปี ค.ศ. 1610 ซึ่งกาลิเลโอเริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์ใน การสำรวจท้องฟ้า เขาเป็นกลุ่มคนยุคแรกๆ ที่พบและเฝ้าสังเกตวงแหวนของดาวเสาร์ แม้จะมองไม่เห็นลักษณะอันแท้จริงของมันได้อย่างชัดเจน ปี ค.ศ. 1655 คริสเตียน ฮอยเกนส์ เป็นผู้แรกที่สามารถอธิบายลักษณะของวงแหวนว่าเป็นแผนจานวนรอบๆ ดาวเสาร์
มีแถบช่องว่างระหว่างวงแหวนอยู่หลายช่อง ในจำนวนนี้มีอยู่ 2 แถบที่มีดวงจันทร์แทรกอยู่ ช่องอื่นๆ อีกหลายช่องอยู่ในตำแหน่ง
การสั่นพ้องของวงโคจรกับดวงจันทร์ของดาวเสาร์ และยังมีอีกหลายช่องที่ยังหาคำอธิบายไม่ได้